เทคโนโลยีสีเขียวที่พยายามฉายความน่าสนใจ

เทคโนโลยีสีเขียวที่พยายามฉายความน่าสนใจ

งาน CES (Consumer Electronic Show) เป็นเวทีระดับโลกของการแสดงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในนครลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งปีนี้ผู้ประกอบการหลายรายก็ยังนำสินค้าการพัฒนาของตนมานำเสนออย่างคึกคัก เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค

เทคโนโลยีสีเขียว

ที่ผ่านมามีผู้สังเกตการณ์และตั้งข้อสงสัยว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคมีความจริงจังและมุ่งมั่นถึงการพิทักษ์ปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เนื่องจากส่วนใหญ่ของเทคโนโลยีที่สร้าง ความตื่นเต้นในงานนี้ มักมุ่งเน้นไปที่สมาร์ททีวี หรือหุ่นยนต์ แทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อโลก มีความซับซ้อน และให้ผลกำไรน้อยกว่า แต่ผู้ประกอบการที่ทำนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมก็พยายามนำเสนอผลงานให้เป็นที่จับตา เช่น นีโอแพลนท์ส บริษัทสตาร์ตอัพในกรุงปารีส ฝรั่งเศส นำเสนอพืชที่ถูกออกแบบทางวิศวกรรมชีวภาพ ให้ฟอกอากาศภายในอาคารที่มีมลพิษได้ หรือบริษัทเทคโนโลยีเซนซิโบ ก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์และเซ็นเซอร์เพื่อจัดการเครื่องปรับอากาศได้ดีขึ้น เซ็นเซอร์จะวัดความชื้นและอุณหภูมิ และใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้ จึงช่วยประหยัดพลังงานและเงิน

นอกจากนี้ ก็ยังมี ACWA Robotics บริษัทสตาร์ตอัพในฝรั่งเศส ได้ออกแบบหุ่นยนต์ตรวจจับและป้องกันการรั่วไหลของน้ำในท่อใต้ดิน ซึ่งบริษัทประเมินว่า 20% ของน้ำดื่มสูญเสียไปเนื่องจากท่อรั่ว วิศวกรของ ACWA Robotics ระบุว่า การต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นความท้าทายแห่งศตวรรษอย่างแท้จริง.

อ่านข่าวเทคโนโลยีที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ไทยคมเฮ!อนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม 7 และ 8 ไม่อยู่ใต้สัมปทาน

ไทยคมเฮ!อนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม 7 และ 8 ไม่อยู่ใต้สัมปทาน

ไทยคมเฮ!อนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม 7 และ 8 ไม่อยู่ใต้สัมปทาน

คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดเป็นเอกฉันท์ ว่าดาวเทียม ไทยคม 7 และไทยคม 8 มิได้เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารฯ และให้ยกคำร้องแย้งของผู้คัดค้านเรื่องคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ กรณีข้อพิพาทเรื่องดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้แจ้งเรื่อง ข้อพิพาท ดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามหนังสือของบริษัทเลขที่ TC-CP 019/2560 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2560 ว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งว่าดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (“สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารฯ”)ฉบับลงวันที่ 11 กันยายน 2534 และแจ้งให้บริษัทฯปฏิบัติตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารฯให้ครบถ้วน อาทิ การโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบทรัพย์สิน การชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนและการประกันภัยทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทฯได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 ไม่ใช่ดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารฯ

ข่าวเทคโนโลยี

แต่เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบของการรับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บริษัทฯจึงได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2560 เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 97/2560 นั้น บัดนี้ กระบวนการพิจารณาข้อพิพาทของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ดำเนินการมาจนเสร็จสิ้นแล้ว และบริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่าเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 บริษัทฯ ได้รับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 29 กันยายน 2565 ซึ่ง คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดเป็นเอกฉันท์ ว่าดาวเทียม ไทยคม 7 และไทยคม 8 มิได้เป็นดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารฯ และให้ยกคำร้องแย้งของผู้คัดค้าน เมื่อมีคำชี้ขาดดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8มิได้อยู่ภายใต้ และหรือ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับสัญญาดำเนินการกิจการดาวเทียมสื่อสารฯ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ใดๆ ที่ต้องดำเนินการตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวอ้างและหรือร้องขอตามที่เป็นข้อพิพาท