4 ข้อดีของการพาลูกไปเล่นนอกบ้าน

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ สหรัฐอเมริกาบอกว่า เด็กที่ไม่ค่อยได้เล่นของเล่นหรือไม่ได้รับสัมผัสจากพ่อแม่ จะมีขนาดของสมองเล็กกว่าเด็กทารกโดยทั่วไปถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์

และยิ่งถ้าลูกได้เล่นอยู่สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์และการกระตุ้นที่เหมาะสม จะช่วยให้สมองของเขาได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เด็กเล็กๆ แม้จะยังเดินไม่ได้ แต่พ่อแม่สามารถอุ้มลูกออกไปนอกบ้าน หรือจะให้ลูกนั่งรถเข็นแล้วพาออกไปนอกบ้านก็ได้เช่นกัน เพื่อให้เขาได้รับสัมผัสที่แตกต่างจากในบ้านบ้าง

องค์ความรู้เกี่ยวกับเด็ก

  1. เล่นนอกบ้าน ส่งเสริมการมองเห็น จากแต่เดิมที่เคยเห็นแต่ของเล่น เห็นเพดาน เห็นแต่ผนัง มีแต่คนในบ้าน การพาลูกออกไปเล่นนอกบ้านทำให้เขาเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น เช่น ท้องฟ้า ก้อนเมฆ ต้นไม้ สัตว์ สิ่งของอื่นๆ ที่แตกต่างจากเดิม
  2. เล่นนอกบ้าน ส่งเสริมการได้ยินเสียง เมื่อออกไปนอกบ้านลูกย่อมจะได้ยินเสียงที่แตกต่างจากในบ้าน โดยเฉพาะเสียงของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเสียงนก เสียงลมพัด เป็นต้น
  3. เล่นนอกบ้าน ช่วยให้รับสัมผัสนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพื้นหญ้า พื้นดิน พื้นทราย จะช่วยประตุ้นประสาทสัมผัสเด็กวัย 1-3 ปีได้ดีทีเดียว
  4. เล่นนอกบ้าน ส่งเสริมสังคมใหม่ๆ แต่เดิมรู้จักแต่คนในบ้าน เมื่อไปนอกบ้านลูกย่อมได้พบเจอคนที่แปลกใหม่มากขึ้น นอกจากจะช่วยเสริมสร้างทักษะเรื่องการเข้าสังคมแล้ว ยังลดอาการกลัวคนแปลกหน้าได้อีกด้วย

การเล่นนอกบ้านช่วยให้อิสระแก่ลูกได้ดีกว่าการเล่นในบ้าน ลูกสามารถสร้างจินตนาการและออกแบบการเล่นในแบบของเขาได้ การได้หัดปีนป่าย หรือได้จับสัมผัสสิ่งแปลกใหม่จะช่วยให้ลูกเกิดการเรียนรู้

หากต้องพาลูกไปสนามเด็กเล่น คุณภาพของของเล่นหรือลักษณะการเล่นของเล่นจากเด็กหลายๆ คน อาจทำให้ของเล่นในสนามเด็กเล่นไม่ค่อยมีความปลอดภัยมากนัก เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยให้ลูกค่ะ และก่อนจะให้ลูกเล่นของเล่นชนิดไหนก็ควรดูความเหมาะสมเรื่องวัยและพัฒนาการของเขาด้วย เช่น การพาลูกนั่งชิงช้า ถ้าลูกยังเล็กนักก็ไม่ควรปล่อยให้นั่งคนเดียว หรือหากเขาสามารถนั่งคนเดียวได้ ก็ไม่ควรแกว่งไกวชิงช้าแรงๆ เพราะอาจจะทำให้ลูกตกจากชิงช้าได้

บทความแนะนำ : เผยผลสำรวจสุขภาพเด็กไทยในยุคโควิด – 19 แบบเจาะลึก SEANUTS II

เผยผลสำรวจสุขภาพเด็กไทยในยุคโควิด – 19 แบบเจาะลึก SEANUTS II

เผยผลสำรวจสุขภาพเด็กไทยในยุคโควิด – 19 แบบเจาะลึก SEANUTS II
ชี้เด็กอายุ 6 เดือน – 12 ปี ยังประสบภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักเกิน

บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลสำรวจภาวะโภชนาการในเด็กแบบเจาะลึก จากโครงการ SEANUTS II ชี้เด็กไทยมีประเด็นทางสุขภาพที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ น้ำหนักเกินเกณฑ์และอ้วน ซึ่งพบในเด็กอายุ 7 – 12 ปี มากกว่า 30% ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีเผชิญกับภาวะโลหิตจางที่สูงถึง 50% การบริโภคอาหารและปริมาณพลังงาน-สารอาหารที่ได้รับในแต่ละวันที่ไม่สมดุล พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 เช่น กิจกรรมกลางแจ้งที่ลดลงถึง 32%  เนื่องจากเด็กใช้ชีวิตกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยทั้งสองหน่วยงานตั้งเป้าที่จะเผยแพร่ให้เป็นความรู้แก่ผู้ปกครอง บุคคลทั่วไป พร้อมส่งต่อข้อมูลสำคัญไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป็นแผนส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการที่จำเป็น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของเด็กในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กไทยแบบบูรณาการ
รศ.ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล
กล่าวว่า “ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดี ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในประเทศ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในฐานะหน่วยงานวิชาการที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งทางด้านอาหารและโภชนาการของชาติ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำสำรวจภายใต้โครงการ SEANUTS (South East Asian Nutrition Surveys) เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลเชิงลึก ที่เป็นปัจจัยอันส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหาร หรือพฤติกรรม-การใช้ชีวิตของเด็กที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพ โดยทางสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินร่วมกับทางสถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่าทำสำรวจเป็นครั้งที่สองแล้ว หลังจากที่ได้ดำเนินการครั้งแรกไปเมื่อปี พ.ศ. 2553-2554 โดยการสำรวจครั้งล่าสุดในปีพ.ศ. 2562 – 2564 ที่ผ่านมา มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 มาเป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่น่าสนใจ”
เด็ก
รศ.ดร.นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการ SEANUTS II ของประเทศไทย เปิดเผยว่า “ภาวะทุพโภชนาการในเด็กยังคงเป็นปัญหาหลักในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของอาหารและโภชนาการเด็กที่ยังต้องปรับปรุง โดยปัจจุบันเด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน -12 ปี ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ห่างไกล ยังคงเผชิญกับภาวะทุพโภชนาการหลากหลายรูปแบบ และหลายครั้งพบว่า ในหนึ่งครอบครัวมีสมาชิกที่มีภาวะทุพโภชนาการหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหาร หรือมีอัตราน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยเฉพาะในเด็กอายุ 7-12 ปี ที่มีมากกว่า 30% ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ฯลฯ และยังพบว่า มีเด็กที่อายุ 6 เดือน – 12 ปี มากกว่า 70% ได้รับแคลเซียมไม่ถึงเกณฑ์ที่แนะนำสำหรับการบริโภคต่อวัน นอกจากนี้ จากการสำรวจพบภาวะโลหิตจางในเด็กกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ของไทยที่สูงถึง 40% ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มดำเนินการสำรวจ โดยภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา การเจริญเติบโตของร่างกายและประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ขณะที่สัญญาณเบื้องต้นของปัญหาทุพโภชนาการอย่างภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กอายุ 0 – 5 ปี พบว่าลดลงจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งในอดีตอยู่ที่ 10.6% แต่ปัจจุบันพบราว 4.6% และน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่ร่วมกันจัดทำการสำรวจ SEANUTS II”
รศ.ดร.นิภา ขยายความต่อถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กว่า “ทางทีมวิจัยได้มีการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า เป็นสัญญาณที่ดีว่าเด็กไทยส่วนใหญ่บริโภคมื้อเช้า และมากกว่า 55% รับประทานไข่ไก่เป็นประจำ โดยมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ฟอง / สัปดาห์ ขณะที่ 88.1% ดื่มนมมากกว่า 4 แก้ว / สัปดาห์  และเมื่อทำการสำรวจลงลึกถึงคุณภาพของสารอาหาร พบว่าเด็กที่ได้รับแคลอรี่ที่เพียงพอในมื้อเช้า มีสัดส่วนของการขาดสารอาหาร ทั้งในกลุ่มสารอาหารหลักและกลุ่มสารรองที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามิน A, C, D, B1, B2, B3 และ B12 ที่ลดลง (ขาดน้อยลง) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับแคลอรี่จากมื้อเช้าต่ำ ดังนั้นการบริโภคอาหารเช้าที่พอเพียงจะส่งผลต่อการได้รับสารอาหารที่พอเพียงตลอดทั้งวัน

ติดตามข่าวสารต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> ภาวะเลือดออกในสมอง ที่เกิดจากอุบัติเหตุในเด็ก

ภาวะเลือดออกในสมอง ที่เกิดจากอุบัติเหตุในเด็ก

ภาวะเลือดออกในสมอง ที่เกิดจากอุบัติเหตุในเด็ก

  • หากเด็กได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ ตกจากที่สูง การกระแทก วิ่งชนกัน ถูกของแข็งกระทบหรือถูกตี อาจส่งผลกระทบถึงอาการเลือดออกในสมอง
  • กรณีที่เด็กไม่รู้สึกตัวให้สังเกตว่าเด็กยังหายใจหรือไม่ หากเด็กไม่มีชีพจรจำเป็นต้องรีบทำการปฐมพยาบาลกู้ชีพโดยด่วนและพาส่งต่อโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  • อาการเลือดออกในสมอง ส่งผลกระทบทำให้พบปัญหาทางระบบประสาท ส่งผลต่อการเรียนรู้ การพูด และการเคลื่อนไหว บางคนอาจมีอาการชักหรือลมบ้าหมู รุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้
    “ภาวะเลือดออกในสมอง” คือ อาการที่มีเลือดออกในสมอง ทำให้สมองบวมและความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กรวมถึงผู้ใหญ่ ดังนั้น หากเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะจึงต้องมีการสังเกตอาการอยู่เสมอ โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ยังมีการตัดสินใจของตัวเองต่ำ ผู้ปกครองและคุณครูที่อยู่ใกล้ชิดจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแก่ชีวิตของเด็ก

สาเหตุของการเกิดภาวะเลือดออกในสมองในเด็ก

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ภาวะเลือดออกในสมองที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เช่น การผลัดตกจากที่สูง อาการเลือดออกในสมองจากการกระแทก วิ่งชนกัน การได้รับของแข็งตีบริเวณศีรษะ และรวมถึงการที่เด็กถูกจับมาเขย่าก็อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองในเด็กได้
  • ภาวะเลือดออกในสมองที่ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เช่น โรคที่เกี่ยวกับสมอง เส้นเลือดในสมองแตก มีก้อนเนื้องอกในสมอง มีโรคประจำตัว อาทิ เลือดออกง่ายหยุดยาก โรคตับ เป็นต้น

เป็นที่สังเกตได้ว่า ภาวะเลือดออกในสมองที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ที่ประสบอุบัติเหตุนั้นเกิดได้ง่าย รวดเร็ว และมักคาดไม่ถึง ดังนั้น ภาวะเลือดออกในสมองในเด็กที่เกิดจากอุบัติเหตุจึงถือเป็นสาเหตุที่ผู้ปกครองควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ข่าวเด็กวันนี้

การปฏิบัติเมื่อเด็กได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ

  1. ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดต้องมีสติ เพื่อที่จะสามารถควบคุมและจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ต้องรีบประเมินเด็ก ต้องตรวจสอบว่ารู้สึกตัวหรือไม่
  3. ในกรณีที่เด็กไม่รู้สึกตัว ให้สังเกตว่าเด็กยังหายใจหรือไม่ ชีพจรเป็นอย่างไร หากเด็กไม่มีชีพจรจำเป็นต้องมีการกู้ชีพโดยด่วนและรีบพาส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที แต่หากเด็กยังหายใจเองได้ ชีพจรเต้นปกติ ไม่ควรช่วยเหลือเองเพราะอาจช่วยเหลือผิดวิธี ควรโทรเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ชีพมาช่วยเหลือและดูแลเด็ก
  4. แม้พบว่าเด็กยังรู้สึกตัวดี ก็ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ให้สังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ ต่อไป

อาการผิดปกติของเด็กที่ต้องสังเกตและรีบพามาพบแพทย์

  • เด็กสลบและตื่นขึ้นมาโดยไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ ก็ยังต้องคอยสังเกตเพราะอาจเกิดภาวะสมองกระทบกระเทือนจนสติดับและมีเลือดออกในสมองเล็กน้อย (Lucid interval) แต่เลือดอาจยังไม่มากพอจึงทำให้เด็กยังรู้สึกตัวปกติ ซึ่งต่อมาสมองจะบวมมากขึ้นและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • บริเวณศีรษะมีแผลบวม โน ฉีกขาด
  • มีก้อนบวมโตบริเวณหู
  • บริเวณศีรษะมีรอยช้ำ อาจเพราะเกิดภาวะที่ฐานกะโหลกมีรอยร้าวหรือรอยแตก (Battle sign)
  • เด็กมีอาการซึม
  • เด็กไม่สามารถตอบสนอง ไม่ทำตามคำสั่งหรือพูดคุยได้
  • เด็กเดินแล้วดูอ่อนแรง เดินเซ
  • เด็กมีอาการชักหรือช็อก
  • มีเลือดไหลออกจากจมูกหรือหู
  • เด็กมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน
  • สำหรับเด็กเล็ก ให้สังเกตอาการร้องกวน ปลอบอย่างไรก็ไม่หยุด

การวินิจฉัย อาการเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองถือเป็นภาวะฉุกเฉิน โดยเฉพาะในวัยเด็ก การวินิจฉัยอาการจึงต้องวินิจฉัยโดยแพทย์ทางด้านเวชบำบัดฉุกเฉินและวิกฤติในเด็กที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ รายละเอียดดังนี้

  • แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและอาการของเด็ก
  • ทำ CT Scan การใช้รังสีเอกซเรย์เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายภาพโครงสร้างต่างๆ ในสมอง ในการวินิจฉัยนี้แพทย์จะให้เด็กนอนลงบนโต๊ะแล้วเคลื่อนเด็กเข้าไปใต้อุปกรณ์ถ่ายรูปที่มีลักษณะคล้ายโดนัท เป็นวิธีที่นิยมใช้วินิจฉัยภาวะเลือดออกในสมองมากที่สุด
  • ทำ MRI ถ่ายภาพทางคอมพิวเตอร์โดยใช้คลื่นวิทยุและแม่เหล็กขนาดใหญ่ โดยระหว่างการวินิจฉัย เด็กจะนอนลงแล้วถูกเคลื่อนย้ายไปใต้อุปกรณ์คล้ายท่อหรืออุโมงค์ แต่การทำ MRI Scan นี้นำมาใช้ไม่บ่อยเท่า CT Scan เนื่องจากใช้เวลานานกว่า

นอกจากการวินิจฉัยข้างต้น แพทย์ยังอาจใช้การวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อระบุสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมอง เช่น การเอกซเรย์หลอดเลือดด้วยการฉีดสีเข้าไป ให้สามารถมองเห็นการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของเกล็ดเลือด การแข็งตัวของเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบและการเกิดลิ่มเลือดที่อาจเป็นปัจจัยของภาวะดังกล่าว