จริงหรือไม่? เนื้อย่าง 1 กิโล มีสารก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ 600 มวน!!

ที่นี่มีคำตอบ..จริงหรือไม่? เนื้อย่าง 1 กิโล มีสารก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ 600 มวน!! … 

ใครๆ ก็รู้ว่าอาหารปิ้งย่างเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง เพราะขอบดำไหม้เกรียมของเนื้อนี่แหละ ที่เต็มไปด้วยสารที่ทำอันตรายต่อร่างกาย หรือสารก่อมะเร็งนั่นเอง แต่ที่บอกว่าเนื้อย่าง 1 กิโลกรัม มีสารก่อมะเร็งเท่ากับการสูบบุหรี่ 600 มวนนั้น จริงหรือไม่  วันนี้เรานำคำตอบจาก ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาฝากค่ะ

จริงหรือไม่ “เนื้อย่าง 1 กิโล มีสารก่อมะเร็งเท่าบุหรี่ 600 มวน” … มีเยอะจริง แต่บุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า … งงมั้ย ฮะฮะ

รูปและเนื้อความที่แชร์กันนี้ ค่อนข้างจริงนะ ตรงที่มีงานวิจัยมานานมากๆๆ แล้ว (ปี 1964 โน้น) ว่าเมื่อเอาเนื้อสัตว์มาปิ้งย่างบนเตาถ่าน จะมีสารประกอบกลุ่ม polynuclear hydrocarbon มาติดที่เนื้อย่างนั้น โดยพบสารสำคัญคือ benzo(a)pyrene ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอยู่ในเนื้อมากถึง 8 ไมโครกรัม ต่อเนื้อย่าง 1 กิโลกรัม

สารกลุ่มนี้ หรือที่นิยมเรียกว่า PAHs (polycyclic aromatic hydrocarbons) จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยในกรณีของเนื้อปิ้งย่างนี้ ไขมันในเนื้อได้ไหลลงไปในบนถ่าน เผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ และกระเด็นกลับไปเปื้อนบนเนื้อ ทำให้เนื้อปิ้งย่างมีรสชาติอร่อย (อ้าววว) แต่ก็เป็นสารก่อมะเร็งด้วย

ข่าวสุขภาพล่าสุด

เลยนำไปสู่การคำนวณว่า เนื้อสเต็กปิ้งย่างเตาถ่าน (ทั้งถ่านไม้และถ่านหิน) 1.1 กิโล มีสารก่อมะเร็งกลุ่มนี้มากเท่ากับในบุหรี่ 600 ม้วน หรือถ้าเป็นปลาเทร้าต์รมควัน 1.1 กิโล ก็จะเท่ากับในบุหรี่ 250 ม้วน … ซึ่งฟังดูโหดมาก

บางคนเลยบอกว่า งั้นสูบบุหรี่ต่อไปแล้วกัน เพราะสูบตั้งเยอะ ยังไม่เท่ากับกันสเต็กย่างหนึ่งก้อนใหญ่ 555

แต่ๆๆๆ จริงๆ แล้วบุหรี่ไม่ได้มีสารก่อมะเร็งแค่เฉพาะกลุ่มสาร PAHs เท่านั้น ควันของบุหรี่มีสารเคมีอยู่กว่า 4 พันชนิด และมีถึง 43 ชนิดที่ก่อมะเร็งได้ ขณะที่มี 400 ชนิดที่เป็นพิษในแง่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสารนิโคติน ทาร์หรือน้ำมันดินก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารฟอร์มัลดีไฮด์ แอมโมเนีย ไฮโดรเจนไซยาไนด์ สารหนู หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง ฯลฯ

เพราะฉะนั้นคำสรุปเรื่องนี้ก็คือ ถ้ากลัวเป็นมะเร็ง ก็กินอาหารเนื้อสัตว์ปิ้งย่างบนเตาถ่านให้น้อยลงนะครับ ยิ่งพวกที่ปิ้งจนไหม้เกรียมเนี่ย ยิ่งได้สารพิษพวกไนโตรซามีนแถมเข้าไปอีก …. ขณะที่บุหรี่ ถ้าเลิกได้ก็เลิกเถอะครับ

สรุปก็คือ เนื้อย่าง 1 กิโล อาจมีสารก่อมะเร็งเท่ากับบุหรี่ 600 มวนจริง แต่ยังไงในบุหรี่ก็ยังมีสารอันตรายตัวอื่นๆ ที่เพิ่มโอกาสในการมะเร็งเพิ่มขึ้นเข้าไปอีก ดังนั้นเลิกบุหรี่ และลดการทานเนื้อย่างลงบ้างก็จะดีที่สุดค่ะ

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : กรมการแพทย์ แนะ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก ลด-เลี่ยงขนมจุบจิบ น้ำอัดลม แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

 

กรมการแพทย์ แนะ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก ลด-เลี่ยงขนมจุบจิบ น้ำอัดลม แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

กรมการแพทย์ แนะ สร้างเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก ลด-เลี่ยงขนมจุบจิบ น้ำอัดลม แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กปฐมวัย เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันแท้ ซึ่งฟันที่เพิ่งขึ้นในช่องปากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ เนื่องจากการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์

กรมการแพทย์ แนะ สร้างเสริมสุขภาพ

เสริมสร้างสุขนิสัยการดูแลช่องปากที่ดีให้เด็ก
ปัญหาโรคฟันผุในเด็ก อาจเกิดมาจากการแปรงฟันไม่ถูกวิธี ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มน้ำอัดลม กินขนมกรุบกรอบ ซึ่งปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยเรียนเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อภาวะการเจริญเติบโต ผู้ปกครองจึงควรเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากให้เด็ก โดยการลดหรือเลี่ยง อาหาร หรือเครื่องดื่ม ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพฟัน สอนวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นต้น

เราสามารถส่งเสริมสุขนิสัยการดูแลช่องปากในเด็กได้อย่างไร
ให้บุตรหลานบริโภคอาหารหลัก 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า และไม่รับประทานขนมจุบจิบ เช่น ลูกอม เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
แปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยควรแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แปรงให้สะอาดทั่วถึง แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน โดยวางแปรงสีฟันทำมุม 45 องศา บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ถูแปรงสีฟันไปมาในช่วงสั้น ๆ เบา ๆ ตามแนวฟันและเหงือก รวมถึงแปรงลิ้นและกระพุ้งแก้ม เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์และกลิ่นปาก รวมถึงใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้:
ตั้งแต่มีฟันซี่แรกถึงอายุ 3 ปี: ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1000 ppm ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร ในเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูงมาก ควรใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1400-1500 ppm ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร โดยมีผู้ปกครองช่วยแปรงฟันและเช็ดทำความสะอาดฟองออก
ในเด็กอายุ 3 ปี ถึง 6 ปี: ที่มีความเสี่ยงฟันผุต่ำ ควรใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1000 ppm ขนาดเท่าเม็ดข้าวโพด ส่วนเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง-สูงมาก ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1400-1500 ppm ขนาดเท่าเม็ดข้าวโพด โดยผู้ปกครองควรช่วยบีบยาสีฟันหรือช่วยแปรงฟันให้ลูก พร้อมเตือนให้เด็กบ้วนน้ำลายและฟองยาสีฟันทิ้ง โดยไม่ต้องบ้วนน้ำตามหรืออาจบ้วนน้ำ 1 ครั้ง
เด็กอายุมากกว่า 6 ปี: ที่สามารถควบคุมการกลืนและบ้วนทิ้งได้ ควรใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1400-1500 ppm ขนาดเต็มหน้าแปรงสีฟันเด็ก บ้วนน้ำลายและฟองยาสีฟันทิ้งโดยไม่ต้องบ้วนน้ำตาม หรืออาจบ้วนน้ำ 1 ครั้ง
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตช่องปากของบุตรหลาน
นอกจากนี้ การสร้างเสริมสุขนิสัยในการดูแลช่องปากที่ดีแก่บุตรหลาน ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตช่องปากของบุตรหลานว่ามีคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันหรือไม่ มีรอยผุเริ่มแรกหรือผุเป็นรูหรือไม่ และหากพบปัญหาให้รีบมาพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี